วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

week 4 การแทรกรูปภาพ



รูปแบบโค้ด ในการแทรกรูปภาพ

คำสั่ง <IMG SRC> ใช้สำหรับระบุไฟล์รูปภาพที่จะนำมาแสดง โดยไฟล์รูปภาพที่นิยมใช้บนเว็บเพจ จะมีนามสกุลเป็น .gif, .jpg มีรูปแบบคำสั่ง ดังนี้

รูปแบบคำสั่ง <IMG SRC = filename>
โดยที่ Filename คือ ชื่อไฟล์รูปภาพ โดยจะต้องระบุตำแหน่งของภาพว่าอยู่ใน ไฟล์ใดเป็นไฟล์นามสกุลอะไร

สำหรับในกรณีที่ไฟล์รูปภาพ อยู่คนละ Directory กับไฟล์เอกสาร HTML ที่ใช้เรียกไฟล์รูปภาพนั้น เมื่อต้องการเรียกใช้งานรูปภาพจึงต้องมีการระบุชื่อของ Directory ตามด้วยชื่อไฟล์ ตัวอย่าง เช่น ถ้ามีไฟล์รูปภาพชื่อ menu. gif ซึ่งอยู่ใน Directory ที่ชื่อ “picture” ซึ่งอยู่คนละ Directory กับไฟล์ HTML ก็สามารถเขียนได้เป็น <img src=”/picture/ menu.gif”> แต่ถ้าไฟล์รูปภาพอยู่ใน Directory เดียวกับไฟล์ HTML ก็ให้เขียนแค่ชื่อไฟล์รูปภาพเพียงอย่างเดียว เช่น ไฟล์ HTML และไฟล์รูปภาพ menu.gif อยู่ใน Directory ที่ชื่อ “Pictrue” เวลาเขียนก็เขียนได้เป็น
<img src =”menu.gif”>


ตัวอย่างโค๊ด

<HTML>
<HEAD>
<TITLE> นี่คือเว็บเพจแรกของฉัน </TITLE>
</HEAD>
<BODY>
<CENTER>
นี่คือภาพดาราคนโปรดของฉัน><BR>
<IMG SRC="mypic.gif" BORDER=2 WIDTH=120 HIGHT=120 ALT="Super Star"><BR>
ลองทายดูซิว่าเธอคือใคร<BR>
</CENTER>
</BODY>
</HTML>


ผลลัพธ์ที่ได้

                              นี่คือภาพดาราคนโปรดของฉัน

                             


                                     ลองทายดูซิว่าเธอคือใคร





รูปภาพที่อยู่ที่เดียวกับไฟล์เว็บเพจ

การลองใส่รูปในเว็บเพจดู โดยให้เราหารูปอะไรก็ได้ในเครื่อง และ copy ให้ไปอยู่ใน folder เดียวกับไฟล์ index.html ที่เราได้ลองสร้างมาจากบทความแรก โดยรูปที่บทความนี้ใช้เป็นรูปในงานราชพฤกษ์ ที่จัดขึ้นที่เชียงใหม่ และมีชื่อรูปว่า 1.jpg



ให้เราเปิด notepad โดยไปที่ file > open และเลือกไฟล์ index.html ที่เราทำไว้จากบทความที่ผ่านมา


พิมพ์ข้อความตามด้านล่างนี้ โดยในส่วนของ <img src = "1.jpg"> ชื่อรูปที่นำมาใช้เป็น 1.jpg แต่ในส่วนของคุณก็เปลี่ยนเป็นชื่อรูปของคุณเอง

 
ตัวอย่างโค๊ด

<html>
<head>
<title>ทดลองใส่รูปในเว็บไซต์</title>
</head>
<body>
เที่ยวงาน ราชพฤกษ์
<br>
บรรยากาศภายในงาน
<br>
<img src = "1.jpg">
</body>
< /html>


ผลลัทธ์ที่ได้


เราจะเห็นได้ว่ามี source code ใหม่เพิ่มขึ้นมาคือ

<img src = "1.jpg"> เป็น code ที่ใช้ในการแสดงภาพ

<br> เป็น code ที่ใช้ในสั่งให้ขึ้นบรรทัดใหม่

ซึ่งเราอาจทดลองเอา <br> ที่อยู่ระหว่างประโยค เที่ยวงาน ราชพฤกษ์ และประโยค บรรยากาศภายในงาน ออกและกด save ที่ notepad

จากนั้นเราก็ไปดูผลที่ internet explorer (Web browser) ของเรา และทำการกด F5 หรือ กด Refresh เพราะ Web browser ยังแสดงผลที่เกิดจากการเปิดไฟล์ index.html ครั้งแรกอยู่ จากรูปจะเห็นว่าผลที่แสดงต่างจากเดิม โดยจะไม่มีการเว้นบรรทัดระหว่าง เที่ยวงาน ราชพฤกษ์ และ บรรยากาศภายในงาน






web browser ไม่ได้แสดงผลในครั้งแรกที่เราเปลี่ยนแปลงไฟล์ index.html ก็เพราะว่า web browser เปิดไฟล์ index.html และแสดงผลค้างไว้ จะไม่มีการเรียกไฟล์ index.html มาอ่านซ้ำระหว่างที่มีการแสดงผล ดังนั้นเราต้องทำการกด Refresh หรือ F5 เพื่อให้ web browser ทำการเรียกไฟล์ index.html มาแสดงผลใหม่

เราอาจลองเพิ่มรูปโดย การเพิ่มบรรทัดของ <img src = "ชือรูปของคุณ"> เข้าไปอีกก็ได้







แหล่งที่มา

      -   http://www.tanti.ac.th/Com-tranning/html/page12.html
      -    http://www.hellomyweb.com/index.php/main/content/2  14/09/55

วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Week 3 การแต่งตัวอักษร

       การกำหนดแบบตัวอักษร

       การกำหนดรูปแบบตัวอักษร (FONT) เป็นคำสั่งกำหนดรูปแบบอักษรให้เป็นไปตามต้องการ ซึ่งสามารถกำหนดรูปแบบตัวอักษรได้ 2 รูปแบบ คือ

          1. การกำหนดแบบตัวอักษรเฉพาะข้อความที่ต้องการ <FONT FACE>
          2. การกำหนดแบบตัวอักษรทั้งหมด <BASEFONT FACE>

          คำสั่ง <FONT FACE> เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับกำหนดแบบของตัวอักษรลักษณะต่าง ๆ โดยการกำหนดแบบตัวอักษรจะใช้ Attribute
คือ FACE สำหรับกำหนดแบบตัวอักษรเฉพาะข้อความที่ต้องการได้ ค่าที่ระบุ จะเป็นชื่อของรูปแบบตัวอักษรที่เป็นไปตามมาตรฐานของวินโดว์
โดยบราวเซอร์จะทำการเรียกใช้แบบตัวอักษร แบบที่ 1 (FONT1) ก่อน หากไม่สามารถเรียกใช้ได้ จะทำการเรียกใช้แบบตัวอักษรแบบที่ 2
(FONT2) แท

          รูปแบบคำสั่ง   
                                     <FONT FACE = "Font1, Font2">..........ข้อความ..........</FONT>
          โดยที่    
                                      FACE คือ แอตทริบิวต์ที่ใช้ในการกำหนดแบบตัวอักษร (Font)
                                      Font1 คือ ชื่อแบบตัวอักษรที่ต้องการให้แสดง
                                      Font2 คือ ชื่อแบบตัวอักษรที่จะนำมาใช้เมื่อแบบตัวอักษรที่ต้องการแสดง ลำดับแรกไม่สามารถเรียกใช้ได้

          ในการกำหนดแบบตัวอักษรโดยการใช้ชื่อแบบตัวอักษร ควรจะกำหนดชื่อโดยการใช้ชื่อที่มีอยู่ในมาตรฐานของวินโดว์ โดยหากเอกสาร
HTML มีภาษาไทยอยู่ด้วย ควรจะใช้ชื่อแบบตัวอักษรที่ลงท้ายด้วย UPC เช่น AngsanaUPC, BowalliaUPC, CordiaUPC, 
EucrosiaUPC, JasmineUPC เป็นต้น

   ตัวอย่าง 
  


        
     คำสั่ง <BASEFONT FACE> เป็นคำสั่งที่ใช้กำหนดลักษณะของอักษรให้เหมือนกันทั้งเอกสาร โดยการกำหนดแบบตัวอักษรจะใช้ Attribute คือ FACE เพื่อกำหนดแบบของตัวอักษร
          รูปแบบคำสั่ง    
                                 <BASEFONT FACE = "Font1">
          โดยที่
                               FACE คือ แอตทริบิวต์ที่ใช้ในการกำหนดแบบตัวอักษร (Font)
                               Font คือ ชื่อแบบตัวอักษรที่ต้องการให้แสดง
   ตัวอย่าง
ขนาดตัวอักษร
      หากเราต้องการแสดงข้อความในเว็บของเราให้มีขนาดใหญ่เล็กแตกต่างกัน เราต้องใช้คำสั่ง <font size> โดยมี

มีรูปแบบโค้ดดังนี้

<font size=n>...</font> ซึ่ง n มีค่าตั้งแต่ 1 ถึง 7

ตัวอย่างโค้ด

<html>
<head><title>webthaidd</title></head>
<body>
<font size=1>แสดงข้อความที่มีขนาด n=1</font><br>
<font size=2>แสดงข้อความที่มีขนาด n=2</font><br>
<font size=3>แสดงข้อความที่มีขนาด n=3</font><br>
<font size=4>แสดงข้อความที่มีขนาด n=4</font><br>
<font size=5>แสดงข้อความที่มีขนาด n=5</font><br>
<font size=6>แสดงข้อความที่มีขนาด n=6</font><br>
<font size=7>แสดงข้อความที่มีขนาด n=7</font><br>
</body>
</html>


ผลที่ได้

สีตัวอักษร

คำสั่ง
             <BODY TEXTCOLOR="ชื่อสี" BGCOLOR="ชื่อสี">
ตัวอย่าง

<HTML>
<HEAD>
<TITLE> การกำหนดสีให้กับตัวอักษร </TITLE>
</HEAD>
<BODY>
<FONT COLOR=RED>
นี่คือตัวอักษรสีแดง<BR>
</FONT>
<FONT COLOR=GREEN>
นี่คือตัวอักษรสีเขียว<BR>
</FONT>
<FONT COLOR=BLUE>
นี่คือตัวอักษรสีน้ำเงิน<BR>
</FONT>
<FONT COLOR=VIOLET>
นี่คือตัวอักษรสีม่วง<BR>
</FONT>
<FONT COLOR=YELLOW>
นี่คือตัวอักษรสีเหลือง<BR>
<FONT COLOR=PINK>
นี่คือตัวอักษรสีชมพู<BR>
</FONT>
</BODY>
</HTML>
ผลลัพธ์ที่ได้

ตัวเอียง ตัวหนา ขีดเส้นใต้
รูปแบบคำสั่ง :
<B>...ข้อความ..... </B> :คำสั่งตัวหนา
<I>...ข้อความ..... </I>
:คำสั่งตัวเอียง<U>...ข้อความ..... </U> :คำสั่งขีดเส้นใต้
  เมื่อเราต้องการทำให้ตัวอักษรหนา เอียง หรือขีดเส้นให้ ให้นำคำสั่งข้างต้นไปคร่อม ข้อความนั้นไว้ อย่างเช่น ต้องการแต่งคำว่า "สุระ วรรณแสง" ให้เอียงและหนา ให้ทำดังนี้ : <I><B> การเขียนเว็บเพจด้วยภาษา HTML</B></I> ผลลัพธ์ที่ได้คือ การเขียนเว็บเพจด้วยภาษา HTML

ตัวอย่าง :    การทำตัวอักษรหนา,เอียง,ขีดเส้นใต้

รูปแบบคำสั่ง


<HTML>
<HEAD>
<TITLE>
การใส่สีอักษร
</TITLE>
</HEAD>
<BODY bgcolor=white>

<font size=2 face="ms sans serif">
<B>ข้อความหนา</B>
<br><I>ข้อความเอียง</I><br> <U>ข้อความขีดเส้นใต้<U><br>
<B><I>ข้อความหนา+เอียง</I></B><br>
<B><I><U>ข้อความหนา+เอียง+ขีดเส้นใต้</U></i></B> <br>
<I><U>ข้อความเอียง+ขีดเส้นใต้</U></I><br>
<U><B>ข้อความขีดเส้นใต้+หนา</B></U><br>

</font> 
 
</BODY>
</HTML>

การแสดงผล

ข้อความหนา
ข้อความเอียง
ข้อความขีดเส้นใต้
ข้อความหนา+เอียง
ข้อความหนา+เอียง+ขีดเส้นใต้
ข้อความเอียง+ขีดเส้นใต้
ข้อความขีดเส้นใต้+หนา


ตัวขีดฆ่า ตัวยก ตัวห้อย
                         
     คำสั่งสำหรับกำหนดตัวอักษรตัวขีดฆ่า : <S>..........</S>

      ตัวอย่างการใช้คำสั่ง 
<HTML>
<HEAD>
<TITLE> การกำหนดอักษรขีดเส้นใต้ </TITLE>
</HEAD>
<BODY>
กำหนดอักษรขีดเส้นใต้ <BR>
<S>Microsoft Windows 7</S>
</BODY>
</HTML>
ผลลัพธ์
กำหนดอักษรขีดเส้นใต้
 Microsoft Windows 7
   คำสั่งสำหรับกำหนดแบบอักษรตัวห้อยและแบบอักษรตัวยก : <SUP>… </SUP> และ <SUB> </SUB>

      ตัวอย่างการใช้คำสั่ง 
   
<HTML>
<HEAD>
<TITLE>แบบอักษรตัวห้อยและแบบอักษรตัวยก </TITLE>
</HEAD>
<BODY >
Computer<SUP>2</SUP> <P>
H<SUB>2</SUB>O<P>
</BODY>
</HTML>

ผลลัพธ์

Computer2
H2O

ตัวอักษรวิ่ง  ตัวอักษรกระพริบ

        คำสั่งสำหรับกำหนดอักษรวิ่ง   (MARQUEE) 
               ใช้สำหรับแสดงข้อความแบบเคลื่อนที่ไปยังทิศทางที่เราต้องการ มีรูปแบบการใช้ดังนี้

                  <marquee scrolldelay="ความเร็ว"direction="ทิศทางวิ่ง">ข้อความ</marquee>
- scrolldelay ให้แทนค่าด้วยความเร็วเป็น ตัวเลข ส่วนdirection ใส่ได้เฉพาะ Up,Down,Left และ Right



ตัวอย่างการใช้คำสั่ง   

 <html>
<head>
<title>marque</title>
</head>
<body>
<center>
<marquee scrolldelay="100" direction="Right">WEBTHAIDD</marquee>
<marquee scrolldelay="100" direction="Left">WEBTHAIDD</marquee>
<marquee scrolldelay="100" direction="Up">WEBTHAIDD</marquee>
<marquee scrolldelay="100" direction="Down">WEBTHAIDD</marquee>
</body>
</html>

คำสั่งสำหรับกำหนดอักษรตัวกระพริบ(Blink) : <BLINK> … </BLINK>

      ตัวอย่างการใช้คำสั่ง

<HTML>
<HEAD>
<TITLE>กำหนดอักษรตัวกระพริบ </TITLE>
</HEAD>
<BODY>
การกำหนดอักษรตัวกระพริบ<BR>
<Blink>COMPUTER</Blink>
</BODY>
</HTML>


การจัดตำแหน่งข้อความ

       เราได้เรียนรู้ คำสั่งการขึ้นย่อหน้าใหม่ <P> ไปแล้ว หากเราต้องการกำหนดตำแหน่งการวางข้อความในแต่ละบรรทัด สามารถใช้คำสั่ง <Align> เพิ่มเข้าไปในคำสั่ง <P> ซึ่งมีรูปแบบคำสั่ง ดังนี้
<p align=ตำแหน่งที่ต้องการวางข้อความ>...</p>

การวางตำแหน่งข้อความสามารถวางได้ 3 แบบ ดังนี้

left จัดวางข้อความทางด้านซ้าย ซึ่งเป็นค่าปกติ
center จัดวางข้อความตรงกลาง เขียนได้อีกแบบคือ <center>...</center> ผลที่ได้เหมือนกัน
right จัดวางข้อความทางด้านขวา


ตัวอย่างโค้ด

<html>
<head>
<title>เว็บไทยดีดี :: webthaidd</title>
</head>
<body>
<p align=left>ข้อความอยู่ทางซ้าย</p>
<p align=center>ข้อความอยู่ตรงกลาง</p>
<p align=right>ข้อความอยู่ทางขวา</p>
</body>
</html>


ผลที่ได้
แหล่งที่มา

วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

Week2 HTML tag พื้นฐาน






  • HTML ย่อมาจาก ใช้โปรแกรมอะไรและเปิดดูเอกสาร
  •   - ย่อมาจาก  Hypertext Markup Language
  •   -ใช้โปรแกรม Note Pad
           เปิดดูเอกสาร เป็นเอกสารที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเอกสารอื่น จุดเด่นที่สำคัญที่สุดของ HTML นั้นก็คือ ความเป็นเอกสารที่มีความสามารถมากกว่าเอกสารทั่วไป และมีความสามารถแบบ Hypertext คือสามารถเปิด ดูได้โดยโปรแกรมแก้ไขข้อความต่าง ๆส่วนการเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเอกสารอื่น ๆ นั้นสามารถทำได้โดยการใส่สัญลักษณ์พิเศษ เข้าไปในเอกสารที่เรียกว่า แท็ก (tag) ซึ่งจะถูกอ่านโดยโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ต่าง ๆ เช่น IE , Netscape , Opera ฯลฯ ซึ่งภาษา HTML นั้นมีรากฐานมาจากภาษา SGML (Standard General Marup Language) ซึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่งที่ใช้ในการ ใช้งานอินเตอร์เน็ตในระยะแรก ๆ และต่อมาก็ได้มีการพัฒนาภาษา HTML อยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งปัจจุบันนี้เป็น HTML4 ภาษา HTML นั้นก็มีคุณสมบัติที่ง่ายต่อการเขียน ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ไม่มีความรู้ทางด้านภาษาโปรแกรมใด ๆ เลย ก็สามารถเขียน ได้อย่างสบาย และจุดเด่นที่สำคัญที่สุด คือเราสามารถนำเสนอข้อมูลที่มีทั้งตัวอักษร ภาพ เสียง วิดีโอ และอื่น ๆ ที่รวมอยู่ในไฟล์ เดียวกันได้ และสามารถเชื่อมโยงกับเอกสารอื่น ๆ ได้ง่ายดาย 



Text Editor คืออะไร

   Text Editor  คือ โปรแกรมที่ใช้สำหรับสร้างและแก้ไขข้อความในการสร้างเว็บเพจด้วยภาษา HTML นั้นต้องมีเครื่องมือ
ที่ใช้ในการเขียน และแก้ไขตัวอักษรซึ่งเป็นคำสั่งต่าง ๆปัจจุบันมี โปรแกรม Text Editor หลายโปรแกรม เช่น 
NotePad, EditPlus หรือโปรแกรม Dreamweaver ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นทั้งโปรแกรมสำเร็จรูปในการสร้าง
เว็บเพจด้วย

NotePad

   


EditorPlus


Dreamweaver 



  • องค์ประกอบของเอกสาร html   คือ รูปแบบมาตราฐานของเอกสาร HTML จะมีอยู่สองส่วน ส่วนแรกเรียกว่าส่วนหัว (head) และส่วนที่สองเรียกว่า ส่วนตัว(body) และทั้งสองส่วนจะต้องอยู่ภายใต้คู่แท็ก <HTML>....</HTML> เสมอ 


<HTML> 

   <HTML> คือ ภาษาที่ใช้ในการเขียนเว็บเพจ ย่อมาจากคำว่า Hypertext Markup Language โดย Hypertext หมายถึง ข้อความที่เชื่อมต่อกันผ่านลิ้ง (Hyperlink) Markup หมายถึง วิธีในการเขียนข้อความ language หมายถึงภาษา ดังนั้น HTML จึงหมายถึง ภาษาที่ใช้ในการเขียนข้อความ ลงบนเอกสารที่ต่างก็เชื่อมถึงกันใน cyberspace ผ่าน
Hyperlink นั่นเอง




<head> 

     < head > คือ  เป็นเครื่องมือที่ใช้โดยนักวิจัย หรือบรรณารักษ์ ในการค้นหาสารสนเทศ บน web site ของ gopher ซึ่งสามารถใช้ในการเมนูการค้นหาสำหรับโครงสร้าง gopher โดย Jug head คล้ายกับ veronica ซึ่งเป็นเครื่องมือค้นหาบน gopher อย่างไรก็ตาม jug head มีความทันสมัยน้อย และเฉพาะภายใน gopher เมื่อไฟล์บนแม่ข่าย gopher ได้แปลงเป็นไฟล์ HTML แล้ว gopher จึงมีความสำคัญน้อยลง


<Title> 

          < Title > คือ  จะเปนส่วนหนึ่งของ  Title Bra ตรงด้านบน IE ที่จะเป็นชื่อและจะใส่อะไรก็ได้ เช่น  <title>  Title Bra  </title>


<Body> 


< BODY > คือ เป็นส่วนสำคัญ  คือ Tag  BODY  โดยใน  <BODY> และ  </BODY> นั้นจะเป็นส่วนหนึ่งของข้อความบนหน้าเว็บนั้นเอง





<BR> 
      < BR > คือ เป็นแท็กที่ใช้สำหรับขึ้นบรรทัดใหม่ในส่วนเนื้อหาของ  BODY




<P>
     < P > คือ  เป็นแท็กที่ใช้สำหรับย่อหน้า ในเนื้อหาของ   BODY เช่นกัน




ตัวอย่างโค๊ต และ การเเสดงผล






รูปแบบโค๊ต







ข้อมลูอ้างอิง



วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555

คำศัพท์พื้นฐานเกี่ยวกับการสร้างเว็บ

อินเทอร์เน็ต

       อินเทอร์เน็ตคือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเป็นจำนวนมาก ครอบคลุมไปทั่วโลกโดยอาศัยโครงสร้างระบบสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวกลางในการ แลกเปลี่ยนข้อมูล มีการประยุกต์ใช้งานหลากหลายรูปแบบ อินเทอร์เน็ตเป็นทั้งเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายของเครือข่าย เพราะอินเทอร์เน็ตประกอบด้วยเครือข่ายย่อยเป็นจำนวนมากต่อเชื่อมเข้าด้วยกัน ภายใต้มาตรฐานเดียวกันจนเป็นสังคมเครือข่ายขนาดใหญ่ อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ ทำให้การเข้าสู่เครือข่ายเป็นไปได้อย่างเสรีภายใต้กฎเกณฑ์บางประการที่กำหนด ขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและวุ่นวายจากการเชื่อมต่อจากเครือข่ายทั่วโลก
 


 WWW 

       คำจำกัดความทางเทคนิคของ World Wide Web คือ ทรัพยากรทั้งหมดและผู้ใช้บนอินเตอร์เน็ตใช้ Hypertext Transfer Protocol (HTTP) คำจำกัดความด้านขอบเขตที่มาจาก World Wide Web Consortium (W3C) คือ "World Wide Web เป็นจักรวาลของเครือข่ายสารสนเทศที่เข้าถึงได้ ที่รวบรวมความรู้ของมนุษย์
 
  
 เว็บไซต์ Website 

        Web (ใยแมงมุม) และ Site(โครงข่าย) หรือเรียกว่า "โครงข่ายในแมงมุม" ซึ่งหมายถึง กลุ่มของเว็บเพจที่เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กัน ประกอบไปด้วย เว็บเอกสาร(Web Documents) และสื่อประสมต่าง ๆ เช่น ภาพ เสียง ข้อความ เป็นต้น ซึ่งอาจเรียกเอกสารต่าง ๆ เหล่านี้ว่า เว็บเพจ (Web Page) และเรียกเว็บหน้าแรกของแต่ละเว็บไซต์ว่า โฮมเพจ (Home Page) หรืออาจกล่าวได้ว่า เว็บไซต์ก็คือเว็บเพจอย่างน้อยสองหน้าที่มีลิงก์ (Links) เชื่อมต่อถึงกัน
  • โฮมเพจ (Home Page) คือ หน้าแรกที่เข้าสู่เว็บไซต์นั้น ๆ
  • เว็บเพจ (Web Page) คือ หน้าแต่ละหน้าที่มีการเชื่อมโยงถึงกัน 
 


      Web Page

           Web Page   คือ สารสนเทศ หรือเอกสารที่อยู่บน อินเตอร์เน็ต  Web Page จะเขียนด้วยภาษา  HTML(Hyper Text Markup Language) ซึ่งจะกำหนดให้ มีเนื้อหาและรูปแบบต่างๆ   เช่น    ข้อความ   รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหวที่มีเสียงประกอบ   (video  &  audio files)  hypertext links   เป็นต้น

 


  Home Page  

       1. สำหรับผู้ใช้เว็บ Home Page คือ เว็บเพจแรกที่ปรากฏหลังจากเริ่มใช้ web browser เช่น Netscape Navigator หรือ Microsoft Internet Explorer ซึ่ง browser มักจะได้รับการตั้งค่าก่อน ดังนั้น home page คือ เพจแรกของผู้ผลิต browser อย่างไรก็ตามผู้ใช้สามรถตั้งค่าการเปิด web site อื่น ๆ ได้ เช่น การระบุเป็น "http://yahoo.com" เป็น home page ของผู้ใช้ และสามารถระบุเป็นหน้าว่างได้ สำหรับกรณีที่เลือกเพจแรกจาก รายการ book mark หรือ ป้อน address ของเว็บ
          2. สำหรับผู้พัฒนา web site, home page ซึ่งเป็นเพจแรกที่ปรากฏเมื่อผู้ใช้เลือก site หรือ presence บน world wide web ซึ่ง address ของ web site คือ address ของ home page ถึงแม้ว่าผู้ใช้สามรถป้อน address (URL) ของทุกเพจ และมีการส่งเพจมาให้


 


Web browser 

“โปรแกรมที่ใช้สำหรับท่องอิน เทอร์เน็ต (sufring the Internet) คือใช้ในการเปิด web page และอย่างอื่นอีกมาก” - http://www.vcharkarn.com/vblog/36733
“โปรแกรมที่ใช้สำหรับเป็นประตูเปิดเข้าสู่โลก WWW (World Wide Web) หรือพูดกันอย่างง่ายก็คือโปรแกรม
ที่ใช้สำหรับเล่นอินเทอร์เน็ตที่เรานิยมใช้กันอยู่ทุกวันนี้ โดยเว็บเบราว์เซอร ์ (Web Browser) จะเข้าใจในภาษาHTML นี้คือเหตุผลว่าทำไมต้องใช้ภาษา HTML ในการสร้างเว็บเพจ เพราะโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์นั่นสามารถเข้าใจ และสามารถทำงานตามคำสั่งของภาษา HTMLได้” - http://school.obec.go.th/pp_school/html/browser.html
“โปรแกรม คอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่ สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (html) ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือระบบคลังข้อมูลอื่นๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่าย คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ” - http://www.mindphp.com + http://th.wikipedia.org

 


 HTML

   HTML (Hypertext Markup Language) เป็นกลุ่มของสัญลักษณ์หรือรหัสแบบ " markup" ที่เขียนในไฟล์สำหรับการแสดงบน web browser โดย markup จะบอก web browser ในการแสดงข้อความบนเว็บเพจ และภาพสำหรับผู้ใช้ รหัสแบบ markup ใช้การอ้างอิงส่วนประกอบ (หรือเรียกว่า tag)
HTML เป็นภาพมาตรฐานที่เสนอโดย World Wide Web Consortium (W3C) และได้รับการยอมรับจาก browser รายใหญ่ ซึ่งได้มีส่วนเพิ่มที่ไม่ใช่รหัสมาตรฐาน เวอร์ชันปัจจุบันของ HTML เป็น HTML 4.0 ส่วนสำคัญใน HTML4 ได้รับการเรียกว่า dynamic HTML ในบางครั้งอ้างอิงเป็น HTML 5.0 ซึ่งเป็นส่วนขยายของ HTML เรียกว่า Extensible Hypertext Markup Language


 


 URL

The Uniform Resource Locators (URL) เป็นเสมือนที่อยู่ของเอกสารบนเว็บ ทุกๆ เอกสารจะต้องมี URL เป็นของตัวเอง แต่ละส่วนของ URL เป็นสิ่งที่ใช้ระบบข้อมูลเกี่ยวกับที่ตั้งของเอกสาร ตัวอย่างเช่น

http://www.xvlnw.com
http://www.xvlnw.com/index.php?name=download

แต่ละ URL ประกอบไปด้วยส่วนพื้นฐาน 3 ส่วน คือ Protocol, Server Machine และ File
Protocol ที่นิยมใช้ เช่น http:// , ftp:// , gopher:// , news://
Server machine อาจเป็นชื่อเครื่อง หรือ เลข IP ก็ได้ หรือบางครั้งอาจมีเครื่องหมาย  : (Colon) ตามด้วยหมายเลข อยู่ต่อจาก Server machine เช่น proxy.chiangmai.ac.th:8080 เป็นต้น ซึ่งตัวเลขนั้นหมายถึง Port ที่ใช้ในการับส่งข้อมูลสำหรับ Web Server โดยปกติแล้ว  Port มาตรฐานของ Web Servers คือ 80 ซึ่งจะระบุหรือไม่ก็ได้
File หากไม่มีการระบุชื่อไฟล์แล้ว Web Server จะมองหาไฟล์ที่ชื่อ index.html แล้วส่งไปให้ Web browser โดยอัตโนมัติ (หรือชื่ออื่นๆ ตามการกำหนดเงื่อนไขของแต่ละ  Web Server)

   





แหล่งอ้างอิง
http://www.google.co.th/imgres?um=1&hl=th&biw=1024&bih=605&tbm=isch&tbnid=eVjSYeXrXzIQ4M:&imgrefurl=http://www.mcp.ac  13 /06/2555

วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แนะนำตัว


                                                             My Profile  :))
                                                                                 

                                                 




        ชื่อ  น.ส อัจฉราภรณ์      เลบ้านแท่น


          ชื่อเล่น : กุ๊กกิ๊ก :))

    วันเกิด : 15 มีนาคม พ.ศ 2538

          ศึกษาอยู่  : โรงเรียนธนบุรีวรเทพีพลารักษ์

   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ : 6/4

         เลขที่: 38

    อายุ : 17

       งานอดิเรก :  ฟังเพลง อ่านนิยาย ดูหนัง

   อาหารที่ชอบ :  ยำวุ้นเส้นรวมมิตร

      สีที่ชอบ : ฟ้า ชมพู 
  
  กีฬาที่ชอบ :  วอลเลย์บอล  แบดมินตัน